1.
นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
หรือมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งติดต่อกันนานเกินสองสัปดาห์
หรือเป็นเดือนจนกระทบกับการใช้ชีวิต
2.
อยากแยกตัว เก็บตัวอยู่คนเดียว อยู่ๆ ก็ไม่อยากทำสิ่งที่เคยชอบทำ
ไม่อยากออกไปใช้ชีวิตตามปกติ รวมถึงไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง ไม่อยากทำแม้กระทั่งอาบน้ำ
แปรงฟัน หรือแต่งตัว เกิดความรู้สึกไม่มีความสุขกับการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
ไม่ว่าจะเป็นในครอบครัว ในที่ทำงาน หรือแม้แต่ในโลก
3.
มีอาการเจ็บป่วยทางกายแบบหาสาเหตุไม่ได้ เช่น ปวดหลัง
ปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ปวดท้องท้องอืด หรือเป็นโรคกระเพาะอาหารแบบเฉียบพลัน
ร่างกายซูบผอม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หัวใจเต้นเร็วขึ้น แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ ทั้งหมดนี้เรียกกันว่าเป็น ภาษาร่างกายแห่งความเครียด (body
language of stress)
4.
เบื่ออาหาร ไม่อยากกินอะไรเลยจนน้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว ซูบผอม
หรือกินมากเกินปกติแบบต่อเนื่องจนน้ำหนักขึ้นอย่างรวดเร็ว
และควบคุมพฤติกรรมการกินของตนเองไม่ได้
5.
อยู่ๆ ก็ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่ต้องทำได้ตามปกติ
ความสามารถในการคิดอ่านลดลง ตัดสินใจในเรื่องธรรมดาๆ ก็ยังทำไม่ได้
6.
มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น มั่นใจในตัวเองมากเกินปกติ
มีอารมณ์คึกครื้น ไม่อยากนอน มีพลังงานสูงมากเกินปกติ พูดเร็ว ทำเร็ว
รวมถึงใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเงินแบบไม่คิด
7.
มีอารมณ์ซึมเศร้า และคิดว่าตนเองไร้ค่า สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย
คิดว่าตนเองเป็นภาระ ท้อแท้ตำหนิตัวเอง หมดความสนใจในสิ่งที่ชอบ
มองเห็นแต่ข้อผิดพลาดของตัวเอง รู้สึกสิ้นหวัง หรืออาจมีความคิดอยากตาย
หากมีอาการ
1 ใน 7 ข้อนี้ หรือมีหลายอาการร่วมกัน
ให้สงสัยเลยว่าพฤติกรรมที่เป็นอาจไม่ใช่แค่อารมณ์แปรปรวน หรืออาการทางใจทั่วๆ ไป
แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่ไม่สมดุล
และควรได้รับการรักษาที่ถูกวิธีด้วยการพบแพทย์ด้านจิตเวช หรือทานยาเพื่อรักษา
นอกจากนี้ บุคคลใกล้ชิดควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย
และรีบพาผู้ป่วยมารับการตรวจรักษาหากสงสัยว่าอาจมีอาการทางจิต
ที่มา
ศูนย์ Let's talk (จิตเวช) โรงพยาบาลเปาโล
ภาพประกอบ
www.kapook.com